คุณสมบัติของทนายความ ในประเทศไทยนั้นมีดังนี้
- มีสัญชาติไทย
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์จากสถาบันที่สภาทนายความอนุมัติ
- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์
- ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
ประเภทของทนายความ
1. ผู้ว่าความในวงการศาล
ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น
- หมอความ (lawyer) และทนายความ (attorney) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- counsel(ทนายความ) ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใช้คำว่า
ในอังกฤษจะแบ่งออกเป็น
- barrister ทำงานว่าความในศาล
- solicitor ทำงานก่อนเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล
ในฝรั่งเศสแบ่งออกเป็น
- avocat แถลงความในศาล เช่นเดียวกับ barrister
- avoue เป็นผู้แทนตัวความในศาล
2. นักนิติศาสตร์และศาล
นักนิติศาสตร์ (doctrine) คือผู้ให้ความเห็นทางกฎหมายในทางทฤษฎี ซึ่งอาจอยู่นอกวงการศาล ความเห็นทางกฎหมายของศาลกับความเห็นทางทฤษฎีอาจไม่ตรงกันได้ นักนิติศาสตร์ กับศาล (jurisprudence) ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นตรงกัน อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้อยู่ในวงการศาลและไม่อยู่ในวงการศาล ก็จัดเป็นนักกฎหมาย
3.อัยการ
อัยการคือทนายของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
4.นักกฎหมายนอกวงการศาล
นอกวงการศาล ยังมีนักกฎหมายที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งอาจเป็นทนายความหรือไม่ก็ได้อยู่ด้วย โดยทำหน้าที่ร่างสัญญา ให้ความเห็นทางกฎหมาย ดำเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้น
5.นักกฎหมายภาครัฐ (นิติกร)
ผู้ที่ทำงานทางกฎหมายของราชการนอกวงการศาลโดยเฉพาะ ได้แก่ นิติกร สำหรับนิติกรในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะทำหน้าที่ตรวจสอบร่างกฎหมาย และให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานราชการที่ร้องขอ ซึ่งถือเป็นผู้ดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางปกครองรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะการตรวจสอบจากองค์กรของรัฐที่นอกเหนือจากศาลปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น